Cloud Gaming:

Cloud Gaming : อนาคตวงการเกม

Cloud Gaming ถูกกล่าวถึงว่าเป็นอนาคตของวงการ เกมออนไลน์ เนื่องจากความเข้าถึงง่าย ความสะดวกสบาย และต้นทุนสำหรับผู้บริโภคที่ต่ำลงกว่าเดิม เมื่อเทียบกับการเล่นเกมด้วยอุปกรณ์ตัวเองแบบดั้งเดิม แต่แท้จริงแล้ว C. Gaming คืออะไร มีข้อดี ข้อเสีย และ ขีดจำกัดเป็นอย่างไร รวมถึงเหตุผลที่ทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่า C. Gaming จะก้าวขึ้นมาเป็นอนาคตของวงการเกม บทความนี้จะพาไปสำรวจ และ หาคำตอบในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ C. Gaming

วงการเกมได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงหลังเหตุการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในฐานะสิ่งบันเทิงยามล็อคดาวน์ โดยพบว่าในปี 2020 ยอดขายเกมในสหรัฐสูงถึง 56.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการเติบโตขึ้นถึง 27% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเป็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกันสำหรับอุตสาหกรรมเกมทั่วโลก ทำให้วงการเกมได้รับความสนใจมากขึ้น ตามจำนวนผู้เล่นและยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ที่เริ่มมีแนวคิดในการออกมาตรการในการส่งเสริมวงการเกมให้มากขึ้น

เกมนั้นก็เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพหรือแม้แต่กลไกในการเล่น ด้วยการพัฒนาที่มีขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้อุปกรณ์ในการเล่นเกมต้องดีขึ้นและทันสมัยขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น การเล่นเกมยอดนิยม ที่ออกมาในปี 2023 ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จากต้นยุค 2000 จึงอาจเป็นเรื่องที่แทบเป็นไปไม่ได้ แต่ปัญหาคือ

คนที่เล่นเกมบางคนอาจไม่มีกำลังทรัพย์เพียงพอที่จะ “อัพเกรด” อุปกรณ์การเล่นอย่างที่ใจต้องการ ในขณะที่ผู้สร้างเกม ก็ไม่อยากสูญเสียคนกลุ่มนี้ไป และจุดนี้เองที่ C. Gaming ก้าวเข้ามาแก้ปัญหา โดยช่วยให้ผู้เล่นควบคุมเครื่องหรืออุปกรณ์ในการเล่นเกมที่มีประสิทธิภาพสูงจากระยะไกลได้ ทำให้ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการเล่นเกมที่ทันสมัย เพียงแค่ขอให้มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ดีก็สามารถเล่นได้ผ่านสมาร์ทโฟนธรรมดาหรือแม้แต่สมาร์ททีวี นอกจากนี้ การเล่นเกมผ่านระบบ Cloud ผู้เล่นไม่ต้องดาวน์โหลดเกมเข้าอุปกรณ์ของตัวเองให้เสียเวลาอีกด้วย

Cloud Gaming

แนวคิด Cloud Gaming

แนวคิด C. Gaming เริ่มเป็นที่รู้จักประมาณ 1-2 ทศวรรษแล้ว แต่เพิ่งได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวางมากขึ้นเมื่อไม่นานนี้ เนื่องจากราคาของชิ้นส่วนในอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นเกม ทั้งการ์ดจอและชิปประมวลผลมีราคาแพงขึ้นอย่างมาก การซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ จึงกลายเป็นปัญหาของผู้เล่นเกม

แต่ปัจจุบัน เมื่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น การเล่นเกมผ่านระบบ Cloud (C. Gaming) จึงกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในกลุ่มผู้เล่นเกม แม้จะยังมีข้อจำกัดคือจำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา และจำเป็นต้องเป็นอินเทอร์เน็ตที่มีคุณภาพทั้งด้านความเร็วและความเสถียรด้วย เพราะสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ดีพออาจส่งผลให้เกิดการดีเลย์หรือความหน่วงเกิดขึ้นขณะป้อนคำสั่งทำให้เกมตอบสนองช้ากว่าความต้องการของผู้เล่นซึ่งอาจเข้าขั้นทำให้เล่นไม่ได้เลยทีเดียว

เพื่อให้เข้าใจ C. Gaming มากขึ้น เราอาจต้องกล่าวถึง การแบ่งประเภทของเกม ซึ่งแบ่ง เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เกมอินดี้ เกมระดับดับเบิลเอ (AA) และ เกมระดับทริปเปิลเอ (AAA) โดยเกมอินดี้จะเป็นเกมที่มีขนาดเล็กที่สุด มีการพัฒนาขึ้นโดยบริษัทผู้พัฒนาขนาดเล็กที่มีจำนวนพนักงานน้อยกว่า 20 คน

และ มีใช้เงินในการการพัฒนา ประมาณหนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐถึงล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเกมระดับดับเบิลเอ (AA) ที่เป็นเกมระดับ กลางระหว่าง เกมอินดี้กับ เกมระดับทริปเปิลเอ (AAA) โดยเกมระดับ AA มีจำนวนพนักงานประมาณ 20-40 คน มีวงเงินในการพัฒนา ประมาณหนึ่งล้านถึงห้าสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนเกม AAA ซึ่งเป็นเกมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีงบประมาณมากกว่า 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีพนักงานไม่ต่ำกว่า 50 คน

ขนาดของเกมที่แยกตามประเภทเหล่านี้ ส่งผลให้ตัวเกมในแต่ละประเภทมีคุณภาพด้านงานภาพที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งต้องการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นในระดับที่แตกต่างกันด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่เกมระดับ AA ขึ้นไปจำเป็นต้องมีอินเทอร์เน็ตที่ดี มีท่อส่งที่ใหญ่ เพื่อให้สามารถรองรับข้อมูลมหาศาลที่ส่งกันไปมาผ่านทางอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่าเกมที่ต้อง เล่นในอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุด แพงที่สุด

จะเป็นเกมในระดับ AAA จึงกลายเป็นมาตรวัดสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของ C. Gaming ในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย ทั้งนี้ แม้เมื่อเทียบภาพในเกมจาก C. Gaming กับการเล่นแบบดั้งเดิมด้วยอุปกรณ์ตัวเองที่มีความทันสมัยสูง จะเห็นผลลัพธ์ได้ค่อนข้างชัดว่าภาพจาก C. Gaming ยังด้อยกว่าอยู่พอสมควร เนื่องจากภาพจะถูกบีบอัดก่อนส่งมา แต่ภาพจาก Cloud ก็ถือว่าดีกว่าภาพจากการตั้งค่ารายละเอียดภาพในระดับต่ำสุดอยู่มาก

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับCloud Gaming

ในปัจจุบันมีหลายบริษัทที่เข้ามาทำธุรกิจ C. Gaming ด้วยเหตุผลที่ว่า วงการเกมนั้นโตมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี และ ยิ่งบริษัทที่มาทำ C. Gaming เป็นบริษัทที่ผลิตเกมอยู่แล้ว การทำธุรกิจ C. Gaming ก็จะยิ่งทำให้เกมในระดับ AAA และ AA ของบริษัทมียอดขายที่มากขึ้นจากการเข้าถึงที่ง่ายขึ้นด้วยการเล่นผ่านอุปกรณ์ที่แทบทุกคนมีอย่างสมาร์ทโฟนอีกด้วย โดยผู้ที่ให้บริการ C. Gaming ในปัจจุบัน เป็นบริษัทที่เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Nvidia Sony Amazon หรือแม้แต่ Netflix เองที่เริ่มมีการทดลองให้บริการ C. Gaming ในหลายพื้นที่แล้ว นอกจากนี้ในประเทศไทยเองก็มีผู้ให้บริการ C. Gaming เช่นเดียวกัน นำโดยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมอย่าง TRUE และ AIS

ในตอนนี้ C. Gaming ถือว่ายังห่างไกลกับเป้าหมายหรือความฝันที่ใครหลายคนตั้งเอาไว้ การเล่นเกมในระดับ AAA ผ่าน C. Gaming ยังไม่สามารถที่จะแสดงผลของตัวเกมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ รวมถึงเกมการเล่นที่ไม่ได้ลื่นไหลเท่ากับการเล่นด้วยอุปกรณ์ตัวเองแบบดั้งเดิม แต่ภายในเวลาเพียง 10 ปี จากที่เต็มไปด้วยข้อครหา มาวันนี้ C. Gaming กลับกลายเป็นสมรภูมิใหม่ที่หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างตบเท้าเข้ามา นั่นเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนว่า C. Gaming กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนในวงการเกมต่างจับตามองและเป็นอนาคตของเกมที่ไม่อาจมองข้ามได้อีกต่อไป

เครดิตเว็บไซต์ : ufarich777

อ่านวิธีทำอาหารอื่นๆ ติดตามได้ที่ : techhyun